30 มิถุนายน 2558

เตรียมสอบ กพ. การเรียงประโยค

ฉบับนี้ยายจุ๋มไม่ได้มา แต่ฝากมาบอกว่าเป็นกำลังใจให้ทุกคนที่กำลังเตรียมตัวสอบ กพ.อยู่นะคะ ที่สำคัญอย่าเครียดไปที่เดียวเชียวเพราะความเครียดนั้นมักจะสร้างปัญหามากกว่าสร้างปัญญานะเออ..

การสอบ กพ. จะแบ่งออกเป็นความรู้ความสามารถทั่วไปทางคณิตศาสตร์ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ โดยส่วนของคณิตศาสตร์และภาษาไทยนั้นจะรวมอยู่ในชุดเดียวกัน ในส่วนนี้คะแนนที่เราต้องทำได้คือมากกว่า 60 % ขึ้นไป ก็จะถือว่าสอบผ่าน และส่วนที่หลายคนกลัวหรืออาจจะพลาดถ้าไม่แม่นจริงก็คงจะเป็นตรงส่วนของภาษาไทยนี้เอง (เราเองก็เคยพลาดเหมือนกัน)

เพราะฉะนั้นเราจะต้องชัวร์ในหลักการ ม๊ะ..มาลุยกันเลย
เอาเรื่องการเรียงประโยค เพราะมันเป็นเรื่องที่ไม่ยากแต่ต้องอาศัยทริคนิดหน่อยที่จะช่วยให้ทำข้อสอบได้ง่ายและมั่นใจขึ้น

หลักการเรียงประโยคก็คือ ประธาน+ กริยา+ กรรม เท่านี้เอง ที่เหลือก็เป็นพวกที่ไปขยายตรงนั้นตรงนี้

ลำดับขั้นตอนวิธีการดูตามนี้เลย เราเห็นว่าวิธีการนี้เขียนไว้ดีและเข้าใจง่ายอยู่แล้วก็เลยขอยกมาแล้วปรับเพิ่มให้ดูง่ายขึ้น   (ดัดแปลงจาก : http://www.slideshare.net/valrom/ss-2982993) 


ขั้นที่ 1 (การหาประโยคแรก หรือประโยคที่ 1) มีหลักดังนี้

     1. ประโยคที่ขึ้นต้นด้วย “การ”
                -   การมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองต้องได้รับอนุญาต
                -   การวิ่งออกกำลังกายดีต่อสุขภาพ

    2. หาคำนามเฉพาะ (ถ้ามี  2 คำ ให้เอานามที่มีความหมายกว้างขึ้นต้นเสมอ
                -   โครงสร้างการปกครองของประเทศไทยกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
                -   ยูนานเป็นดินแดนแห่งภูเขา
  
    3. หาประโยคที่มี เครื่องหมายคำพูด “.......”
                -   คำว่า “ตำรวจ” ไม่ปรากฏแน่ชัดว่านำมาใช้ครั้งแรกเมื่อใด

    4. ใน + คำนาม
                -   ในเนื้อของถ่านหินยังมีสารอนินทรีย์เจือปนอีกหลายอย่าง
                 เนื้อที่ตามมาเป็นคำนาม

    5. เพื่อ (ใช้ขึ้นต้นได้ถ้าดูประโยคอื่นแล้วเห็นว่าไม่น่าจะใช้ได้)

     คำเชื่อมห้ามนำมาขึ้นต้นประโยคเลยเป็นอันขาดนะ เช่น กับ แต่ และ ซึ่ง ที่ ฯลฯ

ขั้นที่ 2 (การหาประโยคสุดท้าย หรือประโยคที่ 4) มีหลักดังนี้
        1. ................. เป็นต้น
                 -   เช่น น้ำ น้ำมัน และลม เป็นต้น
        2. ..............ทั้งหมด, .................ทั้งสิ้น
                 -   ซึ่งมีหน้าที่ตรวจสอบเนื้อหาทั้งหมด
        3. ...............ด้วย, ..................อีกด้วย
                 -   พลอยได้รับความกระทบกระเทือนไปด้วย
         4. ...............มากที่สุด, ................มากยิ่งขึ้น
                 -   เพื่อให้บรรลุเป้าหมายมากยิ่งขึ้น
         5. ช่วงเวลา เช่น ปี พ.ศ. (ถ้าขึ้นประโยคแรกไม่ได้ให้ไว้ประโยคสุดท้าย)

ขั้นที่ 3 (การหาประโยคที่ 2 หรือ ประโยคที่ 3) ข้อสอบมักชอบออกแบบนี้ วิธีการหามีดังนี้
         1. ถ้าข้อความสุดท้ายของประโยคเป็นคำนาม ประโยคที่ตามมาจะต้องเป็นคำสันธาน คำ
             สรรพนาม หรือ คำกริยา
                  ตัวอย่าง
                   -    สมองเป็นส่วนประสานการทำงานของตาและหู (หูเป็นคำนาม)
                   -    กับการทำงานกับอวัยวะอื่น (กับ เป็นคำสันธานหรือคำเชื่อม)

          2. ประโยคแรกเป็นข้อมูลทั่วไป ประโยคที่ตามมาจะต้องเป็นประโยคที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น
                   -   เขาไปโรงเรียน      ----------     เขาไปโรงเรียนมหาดไทย


เรามาลองดูโจทย์กัน

ตัวอย่างจาก แบบทดสอบวิชาความสามารถทั่วไป และวิชาภาษาไทย

ข้อความใดเป็นลำดับที่ 3
  
  
  
  



ลองทำโจทย์สัก 10 ข้อก็พอจะเห็นแนวแล้วค่ะ


เมื่อวานเราอ่านหนังสือเล่มหนึ่งในนั้นมีข้อความของ ซาราซาเต้ นักไวโอลินผู้มีชื่อเสียงโด่งดังจากสเปน ขออนุญาตยกประโยคของเค้ามาเลยน่ะ  "Genius! For thirty-seven years I've practiced fourteen hours a day, and now they call me a genius." เท่านี้เองค่ะ ที่ความเก่งกาจต้องการก็คือ คนที่มุ่งมั่นฝึกฝน ความน่ากลัวไม่ได้อยู่ที่คนที่ฝึกแตะ 10,000 ท่าทุกวัน แต่เป็นคนที่ฝึกท่าเดียว 10,000 ครั้งทุกวันต่างหาก (อันนี้คำพูดใครหว่า..อัลไซเมอร์ซะแล้ว)

ไม่มีใครล้มเหลวเพราะลงมือทำ มีแต่ล้มเหลวเพราะหยุดทำนะคะ สู้ๆค่ะ







เฉลยข้อนี้คือ ข้อ 2 เป็นประโยคที่ 3 ค่ะ

2 ความคิดเห็น:

  1. จะตามอ่านทุกเรื่องเลยค่ะ ขอบคุณนะคะสำหรับบทความดีๆ เทคนิคดีๆที่มาแบ่งปัน

    ตอบลบ