17 มิถุนายน 2558

ทำไมจึงควรจะสอบผ่าน กพ. ภาค ก. ให้ได้ในครั้งแรก



4 เหตุผลที่ทำไมคุณจึงควรจะสอบผ่าน กพ. ภาค ก. ให้ได้ในครั้งแรก 
 

1 ครั้งแรกนั้นจะเต็มไปด้วยความตื่นเต้น ความกังวล ความวิตกจริต และทั้งหมดนั้นมีความมุ่งมั่นรวมอยู่ด้วย เว้นเสียแต่ว่าคุณจะถูกพ่อแม่พี่น้อง ญาติผู้ใหญ่ เพื่อน หรือใครก็ไม่รู้บังคับให้สอบและคุณเองไม่อาจจะทำใจให้ตัวเองเกิดความรู้สึกที่อยากจะสอบให้ผ่านให้ได้


2 การสอบ กพ. ภาค ก จะเปิดสอบเพียงแค่ปีละ 1 ครั้งเท่านั้น ถ้าไม่ผ่านก็ต้องรอปีถัดไป และการรับสมัครสอบภาค ข.ของหน่วยงานราชการต่างๆ จะขึ้นบัญชีผู้สอบผ่านภาค ข แค่เพียงปีละครั้ง หรือ สองปีครั้ง ซึ่งหมายความว่า คุณจะพลาดโอกาสในการสอบครั้งๆ นั้นไปด้วย


3 ข้าราชการส่วนใหญ่จะรับสมัครผู้ที่มีอายุไม่เกิน 35 ปี เพราะฉะนั้นหากคุณเริ่มต้นเสียตั้งแต่เรียนจบปริญญาตรี โดยประมาณว่าเรียนจบอายุ 22 ปี คุณจะมีโอกาส สอบ กพ. ภาค ข และ ภาค ค เพื่อเข้าสู่การบรรจุเป็นข้าราชการ ถึง 13 ปี มากพอที่จะทำให้คุณสามารถสอบติดที่ไหนสักทีแน่นอน แต่ถ้าไม่ใช่ล่ะ คุณไปเริ่มต้นกับบริษัทเอกชน หรือนั่งทำงานส่วนตัว ตามหาความฝัน จนมาถึงวันหนึ่งที่คุณอยากจะเปลี่ยนอาชีพมารับราชการทำงานเพื่อแผ่นดิน ตอนที่อายุของคุณก็เริ่มมากแล้วคุณก็จะมีเวลาน้อยลงไปอีก


มีพี่คนนึง ทำงานเอกชนมาตลอดในตำแหน่งที่ดีทีเดียว แต่แล้ววันหนึ่งเกิดเจ็บป่วยแบบที่ต้องพักหยุดงานยาวๆ และไม่สามารถไปทำงานแบบนั้นได้อีกต่อไป จึงต้องลาออกมา เมื่ออาการเริ่มดีขึ้นเธอก็คิดที่จะหางานใหม่ อยากทำงานราชการ ทำให้เธอต้องไปสอบ กพ. ตอนนี้เธอมีอายุ 34 ปีแล้ว นั่นหมายความว่าเธอมีเวลาครั้งเดียวเพื่อที่จะสอบ กพ. ให้ผ่าน เพื่อนำผลไปใช้สมัครสอบภาค ข ภาค ค ต่อไป โดยเธอจะพลาดไม่ได้เลยสักครั้งเดียว ถ้าคุณอยู่ในสถานะการณ์แบบนี้มันคงจะกดดันมากใช่ไหม แต่ก็เอาอยู่รู้ว่าเตรียมตัวสอบ กพ.อย่างไร ให้ผ่าน


4. หมดความมุ่งมั่น เพื่อนๆ เราบางคนที่สอบไม่ผ่านในครั้งแรกมักล้มหายตายจากไปจากการสอบ กพ. หรือบางคนที่จิตใจไหวหวั่นมากเกินไปต่อเป้าหมายที่อยากจะชูธงในอนาคต ก็มักจะอยากๆ หายๆ หรือพูดอีกนัยหนึ่งคือ ความมุ่งมั่นที่จะสอบให้ผ่านไม่มากพอและประเมินข้อสอบ กพ.ต่ำไปจึงมักไม่ค่อยเตรียมตัวสอบอะไรมาก และสุดท้ายก็สอบไม่ผ่าน และไม่ไปสอบอีกเลย


เพราะฉะนั้นรีบสอบให้ผ่าน กพ. ภาค ก เพื่อจะได้เดินหน้าสู้ต่อใน ภาค ข และ ภาค ค. ต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น